โลกของช้าง

Elephant World

พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับช้างครบวงจร

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว เมื่อปี 2542 จึงได้มีแนวความคิดในการดำเนินการนำช้างสุรินทร์กลับมาสู่ภูมิลำเนาไม่ต้องออกไปเร่ร่อนในต่างจังหวัดและชุมชนเมือง ประกอบกับจังหวัดสุรินทร์ได้จัดตั้งศูนย์คชศึกษา ณ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นสถานที่ให้ช้างที่ออกไปเร่ร่อนได้กลับมาอยู่รวมกัน แต่มีความไม่ต่อเนื่องของการบริหารจัดการ ทางจังหวัดสุรินทร์ได้มอบศูนย์คชศึกษา ให้อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์

เพื่อเป็นการพัฒนาโครงการให้มีความยั่งยืน ปี พ.ศ. 2560 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์จึงพัฒนาโครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด ไปสู่โครงการ “โลกของช้าง” (Elephant World) โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ คู่แหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้าง ที่ครบวงจร ซึ่งจะพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงภูดินกว่าสามพันไร่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างครบวงจรควบคู่กับการอนุรักษ์ช้างและวิถีชีวิตชาวกวยเลี้ยงช้างซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีช้างมากที่สุด พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องช้างและวิถีชีวิตของชาวกวยเลี้ยงช้าง ที่มีคุณภาพ สามารถรองรับการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในภาคอีสานและมุ่งสู่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นประตูสู่นครวัด-นครธม เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่อยู่ในเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวนครวัด-นครธม ได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ จะได้ระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมพัฒนาโครงการโลกของช้าง (Elephant World) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โซนพิพิธภัณฑ์

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับโซนต่างๆ คลิกด้านล่าง

โซนที่ 1

ช้างในประวัติศาสตร์ไทย

โซนที่ 2

เรื่องน่ารู้ของช้าง

เริ่มต้นเข้าสู่โลกของช้าง ELEPHANT WORLD

ซุ้มประตูทางเข้าหลักแลนด์มาร์คของโครงการ

1. หมู่บ้านวัฒนธรรมชาวกูย

เป็นหมู่บ้านท้องถิ่นชาวกูยเลี้ยงช้างลักษณะบ้านเรือน เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว
มีใต้ถุนสูง มีคอกช้างอยู่บริเวณตัวบ้าน เพื่อจัดแสดงรายละเอียดของวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมของชาวกูย โดยมีครอบครัวควาญช้างอาศัยอยู่จริง ให้นักท่องเที่ยวได้ชมบรรยากาศของหมู่บ้านชนบทอย่างใกล้ชิด

2. บ้านช้างทองใบ

พลายทองใบ ช้างตัวใหญ่วัย 48 ปี มีความสูง 3.8 เมตร มีงายาวถึง 2.1 เมตร ด้วยความยิ่งใหญ่ และสมบูรณ์แบบ ทำให้พลายทองใบ เป็นช้างดาราที่โด่งดังระดับตำนาน และถือได้ว่าเป็น พญาคชสารแห่งเมืองสุรินทร์

3. องค์พระพิฆเนศวร

ถือเป็นแลนด์มาร์คของโครงการโลกของช้าง (Elephant World) เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมโครงการได้มีโอกาสสักการะขอพรจาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพิฆเนศวร นอกจากจะเป็นเทพแห่ง ความรู้ ความสำเร็จ และศิลปะทั้ง 7 แขนงแล้ว ชาวไทยโบราณยังเชื่อว่า พระพิฆเนศวร เป็นบรมครูช้าง ผู้สร้างสรรพช้าง จึงเป็นที่เคารพบูชาของควาญช้างทั้งหลาย

4. โรงฝึกช้าง

โรงเรียนฝึกช้างจะเริ่มฝึกช้างตั้งแต่อายุประมาณ 3 ปี ให้ช้างเรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้าง และฝึกการรับฟังคำสั่งของควาญช้าง เพื่อเฟ้นหาช้างที่มีความสามารถโดดเด่นที่จะเป็นช้างแสดงหรือเป็นช้างดาราต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้มีโอกาสเข้าร่วมฝึกอบรมในหลักสูตรควาญช้างอีกด้วย

5. โรงช้างสำคัญ

ภายในโรงช้างสำคัญ มีการปั้นช้างเผือกเสมือนจริง มีสัดส่วน สูง 3 เมตร กว้าง 1.4 เมตร ยาว 3.50 เมตร แต่งองค์ด้วยชุดทรงเครื่อง คชาภรณ์ และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับช้างสำคัญของพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยต่างๆ

6. หอชมวิว

เป็นแลนด์มาร์คอีกจุดที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำโครงการโลกของช้าง (Elephant World) แหล่งท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่ของโลก ลักษณะตัวอาหารเป็นแนวตั้ง คล้ายรูปทรงของงวงช้าง รูปทรงอาคารมีช่องว่างคล้าย การถักทอของเครื่องจักรสานและการทอผ้าของชาวอีสาน

7. ลานวัฒนธรรม

การแสดงอัฒจันทร์ ลานแสดงวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ถูกออกแบบใต้แนวความคิดสนามเด็กเล่นของช้าง ได้มีการออกแบบปรับรูปทรงหลังคาจั่วจากบ้านของชาวกูยที่ช้างคุ้นเคย

8. พิพิธภัณฑ์โลกของช้าง

ประตูท่องไพรแอดเวนเจอร์

ภาพบรรยากาศ

ติดต่อจองตั๋ว

ดูรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับตั๋วเข้าชม